nuanprang somsri

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วาดภาพสร้างสรรค์

ความหมายและคุณค่าของการวาดภาพ

    การวาดภาพมีความหมายรวมถึงการวาดภาพและการระบายสี โดยใช้ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิกที่แตกต่างกันออกไป เช่น การใช้ดินสอ ปากกาหรือสีชนิดต่างๆ นำมาขูด ขีด เขียน ลาก หยด แต้ม ระบายตามความสนใจ ความถนัดและความเหมาะสมกับงานที่สร้างสรรค์ขึ้น การวาดภาพจึงนับได้ว่า เป็นจิตกรรมที่มนุษย์สามารถแสดงออกได้อย่างอิสรเสรี อย่างไรก็ตามการวาดภาพจึงมีคุณค่าจึงมีคุณค่าที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะและวิธีการสร้างสรรค์ เช่น ตามความเชื่อเดิมในทางศิลปะนั้น ภาพวาดที่วาดไดเหมือนจริงตามแบบของต้นฉบับหรือวาดได้สวยงามเหมือนธรรมชาติมาก ก็นับได้ว่าป็นผลงานที่มีคุณค่ามาก ในสมัยปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอีก คีอ ภาพที่แสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการอันกว้างไกลของผู้วาดจะได้รับการคัดเลือก และยกย่องว่ามีคุณค่าสูงไปอีกลักษณะหนึ่ง ดั้งนั้นคุณค่าของการวาดภาพนอกจากประกอบด้วยเรื่องราวความเหมือนจริงการใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ แล้ว ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จึงมีส่วนสำคัญอีกด้วย







      ภาพจิตรกรรมของไทย
    มีคุณค่าและความงดงาม
 แบบประจำชาติอันวิจิตร
พิสดารกว่าศิลปะชาติอื่นใด








เครี่องมือและอุปกรณ์

   เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทางด้านทัศนศิลป์ประเภทต่างๆ ตามลักษณะของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับนี้ คือ





1. กระดาษวาดเขียน เป็นอุปกรณ์สำคัญในการวาดเขียนเป็นที่รองรับรอยขีดเขียนเพื่อให้เกิดภาพกระดาษวาดเขียนมีหลายลักษณะแตกต่างกันตรงที่เนื้อและผิวของกระดาษ เช่น ผิวละเอียด หยาบ ขรุขระ มีความหนาบางไม่เท่ากัน เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะสร้างสรรค์
     กระดาษ  นอกจากกระดาษขาววาดเขียนธรรมดาแล้ว ยังมีกระดาษที่จัดทำไว้เพื่อความสดวกและเหมาะสมกับงานแต่ละชนิดอีก เช่น กระดาษปรู๊ฟ กระดาษสีโปสเตอร์ กระดาษอาร์ต และกระดาษเขียนสีชอล์ก เป็นต้น


*

2. ดินสอดำ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเขียนภาพอีกชนิดหนึ่ง ปัจจุบันดินสอได้ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานอยู่มากมายหลายลักษณะ
            ดินสอที่เหมาะสมกับการวาดภาพเขียนภาพ คือ ดินสออ่อน 2 บี ใช้ในการร่างภาพส่วนการแรเงาใช้ 5 บี 6 บี





3. ถ่านชารืโคล (Charcoal ) เป็นถ่านแท่งยาวไม่มีหุ้มเหมือนดินสอดำ ขณะที่เขียนภาพควรจับเบา ๆ ใช้เขียนแรเงาภาพมีลักษณะแตกต่างไปจาดดินสอดำ





4. เครยอง (Crayon) เป็นแท่งสี่เหลี่ยมที่มีไม้หุ้มเช่นเดียวกับถ่านชาร์โคลแต่มีขนาดสั้นและแข็งกว่ามีสีเข็มหลายสี เช่น สีน้ำตาลแก่ สีน้ำเงิน และสีดำ





5. สีเทียน (Wax Crayon) เป็นแท่งกลม มีปลอกกระดาษห้อหุ้มเพื่อไม่ให้หักง่ายและไม่เปื้อนนิ้วมือเวลาเขียนภาพ มีหลายสี



6. สีชอล์ก (Pastel) เป็นแท่งคล้ายสีเทียน มีหลายสี การระบายถ้าต้องการใช้สีกลมกลืนอาจใช้นิ้มมือถู หรือใช้สำลีเกลี่ยให้สีกลมกลืนกันได้




7. สีน้ำ (Water Colour ) สีน้ำปัจจุบันบรรจุไว้ 2 ลักษณะ คือ

7.1 บรรจุหลอด คล้ายหลอดยาสีฟัน เนื้อสีมีลักษณะเหลว มีหลายสี ภายในหนึ่งหลอดบรรจุเพียงสีเดียว โดยทั่วไปนิยมใช้เพียงแม่สี 3 สี คือ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง เพราะผสมกันเป็นสีอื่นๆได้

7.2 บรรจุกล่อง เนื้อสีมีลักษณะแข็ง เวลาใช้ต้องผสมน้ำให้สีละลายนำไปผสมกับสีอื่นๆ ได้ เช่นเดียวกับชนิดหลอด




8. สีโปสเตอร์ ( Poster Colour ) เป็นสีฝุ่นผสมน้ำบรรจุขวด ใช้น้ำและสีขาวผสมได้ มีหลายสี ปัจจุบันนิยมใช้มากในงานออกแบบสาขาต่างๆ ใช้เขียนลงบนกระดาษวาดเขียน กระดาษสีโปสเตอร์ แผ่นไม้ ผ้าและผิววัสดุอื่นๆ ได้





9. พู่กัน พู่กัน ใช้เขียนระบายสี มี 2 แบบ คือ

9.1 พู่กันกลม ขนแปรงอ่อน สำหรับใช้กับสีน้ำและสีโปสเตอร์

9.2 พู่กันแบน ขนแปรงอ่อน สำหรับใช้กับสีน้ำและสีโปสเตอร์ ขนแปรงแข็ง สำหรับใช้กับสีน้พฃำมันหรือใช้ผสมสี
    
     พู่กันกลมและพู่กันแบนมีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงานแต่ล่ะชนิด จึงกำหนดขนาดเรียกกันเป็นเบอร์เริ่มตั้งแต่เบอร์เล็กสุดจนถึงเบอร์ใหญ่สุด คือ เบอร์ 0 พิเศษ เบอร์ 0 ถึงเบอร์14




10. จานผสมสี ทำด้วยโลหะหรือพลาสตอก มีชองสำหรับผสมสีหลายช่อง อาจมีลักษณะกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้




11. ยางลบ เป็นยางลบชนิดอ่อน ใช้ลบดินสอดำไม่ควรใช้ยางลบชนิดแข็งเพราะจะทำให้กระดาษเป็นขุยหรือขาด เมื่อแรเงาหรือระบายสีก็จะไม่เรียบ ไม่สวยงามเท่ากับใช้ยางลบชนิดอ่อนลบ





12. กระดาษรองเขียน ใช้วางกระดาษเพื่อสะดวกในการร่างภาพ เขียนภาพ สามารถวาตั้งให้เรียงเป็นลักษณะต่างๆ ได้ตามต้องการ และเคลื่อนย้ายไปเขียนภาพตามสถานที่อื่นๆ ได้ มีขนาดกว้างกว่ากระดาษที่ใช้เขียนภาพเล็กน้อย ปัจจุบันใช้แผ่นไม้อัดหรือกระดาษอัด ซึ่งมีความเหมาะสมในการรองเขียนภาพได้เป็นอย่างดี
       ภาพวาดที่ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน มีลักษณะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

      ภาพเขียนด้วยถ่านชาร์โคล




      ภาพเขียนด้วยสีชอล์ก



           ภาพเขียนด้วยสีเทียน



           ภาพเขียนด้วยสีน้ำ




         ภาพเขียนด้วยดินสอดำ







สีน้ำมันบนผ้าใบ



        ภาพเขียนด้วยสีโปสเตอร์


   วาดภาพเครยองบนกระดาษ



       


การสร้างสรรค์วาดภาพแสงเงา

               การวาดภาพที่แสดงแสงเงาบนภาพนั้น จะแสดงถึงความกลมกลืนตามสายตาที่มองเห็น คือมีความตื้น ลึก นูน หนา บาง โค้ง เว้า เป็นเหลี่ยมได้อย่างชัดเจนกว่าภาพที่แสดงด้วยเส้นเพียงอย่างเดียวอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกหัดวาดภาพแสดงแสงเงา จนถึงขั้นการสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพแสงเงาเริ่มจากการใช้ดินสอดำชนิดอ่อนประมาณ 5 บี - 6 บี แรเงาหรือเขียนด้วยถ่านชาร์โคล ( Charcoal ) ตลอดจนแสดงแสงเงาโดยใช้ระบายด้วยสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียว
               ภาพแสงเงาของธรรมชาติหรือวัตถุจริงจะวาดและแรเงาให้เป็นไปตามความจริงที่ปรากฏในทุกส่วน การวาดแสงเงาของภาพตามจิตนาการก็ควรคำนึงส่วนที่เป็นแสงสว่างและส่วนที่เป็นเงามืดด้วยเช่นเดียวกัน

        ชนิดของการวาดภาพแสงเงา

       การวาดภาพแสงเงาสามารถปฏิบัติได้หลายแบบ แต่โดยส่วนรวมแล้วจะแยกออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

           1. ภาพแสงเงา 2 ระยะ ภาพแสงเงาที่แสดงเพียง 2 ระยะ มีความกลมกลืน แสดงส่วนละเอียดได้น้อย เห็นเงาในภาพเป็นแผ่นแบนๆ
           2. ภาพแสงเงา 3 ระยะ ภาพแสงเงาที่แสดงเพียง 3 ระยะ มีความกลมกลืน แสดงส่วนละเอียดได้เพิ่มมากขึ้นกว่าชนิดแรก ภาพจะแสดงให้เห็นส่วนที่เป็นแสงสว่าง เงาจางของวัตถุ และเงาดำจัดของวัตถุ
           3. ภาพแสงเงากลมกลืน ภาพแสงเงากลมกลืนเป็นภาพชนิดที่แสดงความกลมกลืนแสดงส่วนละเอียดของภาพได้อย่างชัดเจน จึงทำให้เป็นภาพที่มีลักษณะเหมือนจริงมาก

                          เงาของวัตถุจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแสงสว่างที่ส่องมากระทบวัตถุนั้น ๆ แสงสว่างน้อยเพียงสลัว ๆ เงาของวัตถุที่ปรากฏก็จะน้อย ส่วนแสงสว่างมาก เงาของวัตถุที่ปรากฏก็จะเข้มชัดมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้จัดระยะของแสงสว่างกับเงามืดไว้โดยประมาณ 7 ระยะ ดังนั้น การวาดำภาพให้มีแสงเงากลมกลืนกันจึงควรแรเงาจากส่วนที่รับแสงสว่างจนถึงมืดที่สุดถึง 7 ระยะเช่นกัน นอกจากเงาที่เกิดบนตัวของวัตถุเองแล้วยังคำนึงถึงเงาต่อไปนี้อีก เช่น

   เงาทอด หรือเราจะรู้จักและเรียกกันว่า " เงาตามตัว" ซึ่งเกิดจากแสงสว่างส่องมายังวัตถุแล้วเกิดเงาตกทอดลงบนพื้นที่วัตถุนั้นวางอยู่
   เงาคาบเกี่ยว เป็นเงาที่เกิดขึ้นบนระนาบที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เงาของวัตถุนั้นตกทอด แล้วยังบังเกิดต่อนื่องไปยังพื้นระนาบนั้นอีก เช่นเดียวกับเงาที่เกิดบนพื้นแล้ว เงายังไปเกิดบนผนังบ้านหรือกำแพงบ้านอีก จึงเรียกว่า " เงาคาบเกี่ยว "


 การสร้างสรรค์วาดภาพเส้นชนิดต่างๆ

      เส้น เกิดจากการลาก ขูด ขีด เยน ด้วยวัสดุต่างๆ บนระนาบรองรับเส้นมีลักษณะต่างกันตามวัสดุและระนาบรองรับ  เช่น

               เส้นที่เกิดจากปากกาบนกระดาษอาร์ต จะเรียบชัดเจนมากกว่าเส้นที่เกิดจากพู่กันบนกระดาษที่มีผิวหยาบ
               เส้นที่เกิดจากดินสอดำ จมีสีอ่อนกว่าเส้นที่วาดด้วยปากกาหมึกดำการวาดภาพด้วยเส้นจึงต้องคำนึงถึงวัสดุและแผ่นระนาบที่รองรับด้วย เส้นจะแสดงความรู้ศึกต่อผู้พบเห็น เช่น เส้นที่มีความคมชัดเป็นระเบียบ อาจแสดงความประณีตเรียบร้อย หรือเส้นที่แสดงความขรุขระ อาจะแสดงถึงความหยาบของวัสดุที่เป็นต้นแบบของภาพนั้น

     ชนิดของเส้นที่ใช้วาดภาพ เส้นที่ใช้ในการวาดภาพส่วนมากจะนำมาใช้ในส่วนของการแรเงาภาพ ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ ( โกสุม สายใจ, 2530 : 75 )
             เกลี่ยเรียบด้วยดินสอ แล้วใช้มือถูช่วยในบางส่วน จะเกิดภาพที่มีความนุ่มนวล หวานซึ้ง
             เกลี่ยเรียบด้วยเส้นทางเดียวกัน จะเกิดภาพที่มองดูแล้วมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
             เส้นตรงตัดกัน จะเกิดภาพที่มีความหนักแน่น แข็งแรง
             เส้นโค้งและโค้งตัด จะเกิดภาพที่มีลีลาการใช้เส้นแปลกออกไป จะมีความรู้สึกเคลื่อนไหวในตัวเอง
             เส้นวนไปวนมา จะเกิดภาพที่มีความแปลกตา ผู้เขียนจะต้องมีความอุตสาหะและมีความระเอียดพอสมควร
             เส้นผสม จะเกิดภาพที่มีความงามแปลกออกไป เพิ่มความหน้าดูยิ่งขึ้น



*********************************************************************************

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ทางสถาปัตยกรรมเรื่องเจดีย์ลักษณะต่างๆ


                                                                                                                                     
เจดีย์ (ภาษาบาลี : เจติย , ภาษาสันสกฤต : ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี : ถูป , ภาษาสันสกฤต : สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย
เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์
สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297 เจดีย์ บทว่า อารามเจติยานิ ความว่า ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ทั้งหลาย เช่นสวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า อารามเจดีย์ เพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเรียกว่าเจดีย์ เพราะหมายความว่า เป็นที่ยำเกรง อธิบายว่า เพราะหมายความว่าเป็นสถานที่ที่บุคคลพึงบูชา. บทว่า วนเจติยานิ ความว่า ป่าทั้งหลาย เช่นราวป่าสำหรับนำ เครื่องสังเวยไปสังเวย ( เทวดา ) ป่าสุภัควันและป่าที่ตั้งศาลของเทวดา เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า วนเจดีย์. บทว่า รุกฺขเจติยานิ ความว่า ต้นไม้ที่ควรบูชาตามประตูเข้า หมู่บ้านและนิคมเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า รุกขเจดีย์. เพราะชาวโลกสำคัญอยู่ว่า เทวดาสิงสถิตบ้าง มีความสำคัญใน สถานที่เหล่านั้นนั่นแลว่าเป็นทิพย์บ้าง จึงพากันทำความเคารพคือบูชา สวนป่าและต้นไม้ทั้งหลาย ฉะนั้น สวนป่าและต้นไม้เหล่านั้น ทั้งหมด เขาจึงพากันเรียกว่า เจดีย์ . บทว่า ภึสนกานิ แปลว่า ให้เกิดความกลัว คือ ยังความกลัว ให้เกิดทั้งแก่ผู้เห็นอยู่ทั้งแก่ผู้ได้ยินอยู่. บทว่า สโลมหํสานิ เป็นไปกับความชูชันแห่งขน เพราะเมื่อใคร เข้าไปก็จะเกิดขนชูชัน. บทว่า อปฺเปว นาม ปสฺเสยฺยํ ความว่า ทำไฉนหนอเราจะพึง ได้ประสบภัยและอารมณ์อันน่ากลัวนั้นบ้าง. บทว่า อปเรน สมเยน ความว่า โดยกาลอื่นจากกาลที่คิดไว้แล้ว อย่างนี้ว่า (ตถาคตนั้น ) ได้มีความคิดดังนี้ว่า ทำไฉนเรา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298 บทว่า ตตฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต ( ดูก่อนพราหมณ์ ก็ เมื่อเราตถาคตอยู่ในสถานที่เหล่านั้น) ความว่า บรรดาเสนาสนะเหล่านั้น เสนาสนะแห่งใด ๆ ซึ่งเป็นสถานที่สิงสถิตของยักษ์ ที่มนุษย์ทั้งหลายควร บนบาน และนำเครื่องสังเวยเข้าไปสังเวย มีพื้นธรณีเกลื่อนกล่นด้วยเครื่อง บูชาและเครื่องสังเวยทั้งหลาย เช่น ดอกไม้ ธูป เนื้อ เลือด มันเหลว มันข้น ม้าม ปอด สุรา และเมรัยเป็นต้น เป็นเหมือนสถานที่ที่รวม ชุมนุมกันของพวกยักษ์รากษสและปีศาจ ซึ่งเมื่อคนทั้งหลายมาเห็นเข้าใน ตอนกลางวัน ดูเหมือนหัวใจจะวายตาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย เอาสถานที่นั้น จึงตรัสว่า ตคฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 267 พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง. พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์. พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑. พระอานนทเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์ได้หรือ. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้า (บาลีเป็น กาลิงคโพธิชาดก) อาศัยเป็นที่ตรัสรู้ ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 202 ตรัสธรรมเจดีย์ [๕๗๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ ตรัสธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม ทรงลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากัน ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.



ลักษณะของเจดีย์

เจดีย์ทรงโอคว่ำ


             


เจดีย์ทรงโอคว่ำ หรือเจดีย์แบบสาญจี เป็นเจดีย์รูปแบบแรก ๆ ของพุทธศาสนา มีองค์ประกอบพื้นฐานครบถ้วน คือ
  1. ฐาน (บางแห่งอาจไม่มี) เพื่อยกระดับว่า เจดีย์นี้สูงศักดิ์กว่าหลุมศพธรรมดา
  2. เรือนธาตุ บางแห่งทึบตัน บางแห่งกลวงเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป รูปเคารพ หรือบรรจุสิ่งของ
  3. บัลลังก์ แสดงถึงวรรณะกษัตริย์ (พระพุทธเจ้าเกิดในวรรณะกษัตริย์)
  4. ฉัตร (บางแห่งอาจไม่มี) เป็นเครื่องประดับบารมี


เจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย



  

เมื่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ได้เข้ามาประดิษฐานในกรุงสุโขทัย จึงได้มีการสร้างเจดีย์ตามวัฒนธรรมพระพุทธศาสนา แต่ได้มีการประดับตกแต่ง ตามแบบของสุโขทัย โดยยังมีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา
เจดีย์ทรงลังกา แบบอยุธยา



   

 ในสมัยอยุธยา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น เจดีย์เองก็มีการพัฒนาการขึ้น และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา รวมถึงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่างให้เข้ากับวัฒนธรรม โดยรวมมีความหมายเดิม ยกเว้น




เจดีย์สำคัญต่างๆในประเทศไทย

พระธาตุเจดีย์

เชียงราย
พระสุวรรณจังโกฏเจดีย์ ลำพูน



เจดีย์ป่าญะ เชียงราย



เจดีย์ภูเขาทอง อยุธยา




  1. พระธาตุดอยทอง วัดพระธาตุดอยจอมทอง ถ.จอมทอง ตำบลเวียง อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วนหน้าผาก ๕ องค์)
  2. วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง (พระบรมธาตุนิ้วก้อยเบื้องซ้าย)
  3. พระธาตุจอมสัก วัดพระธาตุจอมสัก บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง
  4. วัดแสงพระธาตุ บ้านหัวฝาย ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง
  5. พระธาตุวัดแม่ข้าวต้มท่าศุด บ้านแม่ข้าวต้ม ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง
  6. พระบรมธาตุศรีจอมจันทร์ ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง
  7. พระธาตุเวฬุวัน อำเภอเมือง
  8. พระธาตุดอยสะเก็น อำเภอเมือง
  9. พระธาตุจอมกิตติ วัดพระธาตุจอมกิตติ บ้านจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน (พระเกศาธาตุ ๓ องค์, พระบรมธาตุแขนเบื้องขวา, พระบรมธาตุส่วนหน้าผาก ๑๑ องค์)
  10. พระธาตุแสนคำฟู วัดพระธาตุแสนคำฟู (พระเกศาธาตุ) บ้านสันต้นเปา ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน
  11. พระธาตุดอยภูเข้า วัดพระธาตุภูเข้า บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน (พระเกศาธาตุ, สถานที่ที่พระพุทธเจ้าบ้วนพระโอษฐ์)
  12. พระธาตุสามมุงเมือง (พระธาตุสบรวก) (พระเกศาธาตุ) ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน (แสดงที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งฉันภัตตาหาร)
  13. วัดมหาธาตุดอยจัน บ้านดอยจัน ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน (พระเกศาธาตุ, สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงบรรทม)
  14. พระเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน
  15. พระธาตุพระอารามมหาโพธิ์ (วัดร้างริมแม่น้ำโขง)
  16. วัดพระธาตุผาเงา บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน
  17. พระธาตุวัดธาตุเขียว บ้านเชียงแสนน้อย ตำบลเวียงอำเภอเชียงแสน
  18. พระธาตุวัดป่าสัก (พระธาตุโคปผกะ) อำเภอเชียงแสน (พระบรมธาตุส่วนตาตุ่มเบื้องขวา)
  19. พระธาตุหัวกว๊าน (เวียนแกว้น) ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน
  20. พระธาตุวัดสันทรายกองงาม ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน
  21. พระธาตุนางคอย บ้านเวียงแก้ว ๖.ศรีดอนมูล]] อำเภอเชียงแสน
  22. วัดพระธาตุจอมแว่ (พระเกศาธาตุ) บ้านสันผักละ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน
  23. พระธาตุปูแกง ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน
  24. วัดพระธาตุจอมรุ่ง (ท่าไร่ก๋อง) (พระเกศาธาตุ) ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน
  25. วัดพระธาตุจอมรุ่ง (บ้านใหม่พัฒนา) ตำบลเวียง อำเภอพาน
  26. พระธาตุจอมแจ้ง (พาน) ตำบลเวียง อำเภอพาน
  27. พระธาตุดอยงู ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน
  28. พระธาตุเนินธาตุ ดอยงาม ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน
  29. วัดพระธาตุดอยกู่แก้ว (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุตาตุ่มขวา) บ้านป่าสักหลวง ตำบลจันจว้าใต้ อำเภอแม่จัน
  30. พระธาตุป่าหมากหน่อ วัดพระพุทธทศพลญาณ ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน (พระเกศาธาตุ)
  31. วัดพระธาตุสันขวาง (พระเกศาธาตุ) บ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน
  32. พระธาตุสันขี้เหล็ก บ้านสันขี้เหล็ก ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน
  33. พระธาตุอินทร์ยอง บ้านแม่คำ ตำบลศรีถ้ำ อำเภอแม่จัน
  34. วัดพระธาตุจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน
  35. วัดพระธาตุจอมสวรรค์ บ้านจอมสวรรค์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน
  36. พระธาตุวัดศรีโคมคำ (พระธาตุกลางในเมือง) บ้านสันธาตุ ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน
  37. พระธาตุดอยเวา วัดพระธาตุดอยเวา (พระเกศาธาตุ) บ้านแม่สาย ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย
  38. พระธาตุวัดป่าเหมือด ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย
  39. พระธาตุวัดเจติยารามสันธาตุ ตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย
  40. พระธาตุถ้ำปุ่ม (ถ้ำเปลวปล้องฟ้า) ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย (พระเกศาธาตุ)
  41. พระธาตุถ้ำปลา ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย (พระเกศาธาตุ)
  42. พระธาตุดอยตุง วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่ฟ้าหลวง (พระรากขวัญเบื้องซ้าย)
  43. พระธาตุดอยช้างมูบ ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่ฟ้าหลวง
  44. พระธาตุป่าญะ วัดพระแก้วงามเมือง (พระเกศาธาตุ) ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ
  45. พระธาตุจอมเม็ง อำเภอเชียงของ
  46. วัดพระธาตุปูเต้า (พระเกศาธาตุ) บ้านธาตุ ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง
  47. วัดพระธาตุจอมแจ้ง (เทิง) วัดพระธาตุจอมแจ้ง บ้านเหล่า ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง
  48. วัดพระธาตุจอมจ้อ (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุดั้งจมูก) ตำบลเทิง อำเภอเทิง
  49. วัดพระธาตุปูคำ ตำบลเทิง อำเภอเทิง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส้นพระบาทเบื้องขวา)
  50. พระธาตุผาอาบ ตำบลเทิง อำเภอเทิง (พระเกศาธาตุ, ผ้าอาบทองคำ, ก้อนหินแก้วที่ทรงประทับยืน)
  51. วัดพระธาตุขุนทอง บ้านห้วยไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเทิง
  52. วัดพระธาตุจอมหงส์ บ้านห้วยผึ้ง ตำบลเวียง อำเภอเทิง
  53. วัดพระธาตุศรีมหาโพธิ์ (วัดพระธาตุมหาสมโภช) ตำบลเวียง อำเภอเทิง
  54. พระธาตุจอมสิ้น ตำบลเวียง อำเภอเทิง
  55. พระธาตุจอมใจ ตำบลเวียง อำเภอเทิง
  56. วัดพระธาตุปลายนา ตำบลหงาว อำเภอเทิง
  57. พระธาตุจอมทอง (เทิง) วัดพระธาตุจอมทอง (เทิง) บ้านปล้อง ตำบลปล้อง อำเภอเทิง
  58. วัดพระธาตุขุนตาล ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล
  59. วัดพระธาตุจอมสวรรค์ บ้านห้วยหลวง ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล
  60. วัดพระธาตุม่อนศิลาอาสน์ ตำบลต้า อำเภอขุนตาล
  61. พระธาตุจอมแจ้ง (แม่สรวย) วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย
  62. พระธาตุดงสีมา บ้านสันจำปา ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย
  63. พระธาตุดอยจ้อง บ้านห้วยเฮิ้ย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย
  64. พระธาตุดอยแก้ว อำเภอแม่สรวย
  65. พระธาตุสำนักปฏิบัติธรรมพระธาตุดอยกุ้ม (คุ้ม) ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย
  66. วัดพระธาตุจอมหมอกแก้ว ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว
  67. พระธาตุหมอกมุงเมือง บ้านโป่งมอญ ตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว
  68. วัดพระธาตุปูล้าน ตำบลไม้ผา อำเภอพญาเม็งราย
  69. วัดพระธาตุปูตุ๋ง บ้านพญาเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย
  70. วัดพระธาตุแม่เจดีย์ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า
  71. พระธาตุเวียงฮ้อ บ้านฮ่างต่ำ อำเภอเวียงป่าเป้า
  72. วัดพระธาตุทุ่งก่อ ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงชัย
  73. พระธาตุม่อนผ้าขาว บ้านใหม่ใต้ ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด
  74. พระธาตุจอมคีรี ตำบลเวียง อำเภอป่าแดด
  75. วัดมหาธาตุดอยจัน บ้านดอยจัน ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน (พระเกศาธาตุ, สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงบรรทม)
  76. พระธาตุวัดถ้ำผาจม ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย

[แก้] เชียงใหม่

  1. พระธาตุดอยสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง (พระบรมธาตุส่วนกลางกระหม่อม * กะโหลกศีรษะ)
  2. พระธาตุวัดร่ำเปิง (พระเขี้ยวแก้ว) บ้านร่ำเปิง ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง
  3. พระธาตุวัดป่าแดง (อโศการาม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง
  4. พระธาตุวัดสวนดอก (บุปผาราม) อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วนกลางกระหม่อม)
  5. พระธาตุวัดอูปา (บุพพาราม) อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ)
  6. พระธาตุ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (อโศการาม) ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ)
  7. พระธาตวัดศรีเกิด (พีชชอาราม) อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ)
  8. วัดป่าหก - วัดกู่เต้า (เวฬุนาราม) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ)
  9. วัดเชียงมั่น (สังฆาราม) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ)
  10. วัดเชียงยืน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง
  11. วัดนันทาราม (นันตาราม) ถ.นันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ)
  12. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร (โชติการาม) อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย)
  13. วัดพระธาตุดอยคำ (พระเกศาธาตุ) ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง
  14. วัดเจดีย์เจ็ดยอด อำเภอเมือง
  15. พระธาตุวัดโลกโมฬี อำเภอเมือง
  16. วัดพระธาตุผาตั้ง ตำบลออนเหนือ อำเภอสันกำแพง
  17. พระธาตุวัดพระนอนแม่ปูคา (พระเกศาธาตุ) ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง
  18. วัดพระธาตุดอยถ้ำ (พระเกศาธาตุ) ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง
  19. พระธาตุวัดเวียงด้ง บ้านเวียงด้ง ตำบลหางดง อำเภอหางดง
  20. พระธาตุวัดละโว้ ตำบลหนองแก้ว อำเภอหางดง
  21. พระธาตุวัดช่างเคิ่ง (พระเกศาธาตุ ๔ เส้น) บ้านเกาะ (ช่างเคิ่งลุ่ม) ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม
  22. พระธาตุวัดพุทธเอิ้น ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม
  23. วัดพระธาตุดอยกู่ใต้ (พระเกศาธาตุ) ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม
  24. พระธาตุวัดเจียง ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม
  25. วัดพระธาตุดอยรวก (ดอยฮวก) ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม (พระเกศาธาตุ)
  26. วัดพระธาตุดอยสะกาน ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม (พระเกศาธาตุ)
  27. พระธาตุวัดสองยอด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม
  28. วัดพระธาตุดอยกู่ (พระเกศาธาตุ) ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม
  29. พระธาตุวัดทุ่งตูม ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุซี่โครงซ้าย)
  30. พระธาตุวัดเจดีย์เหลี่ยม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุเบื้องขวา)
  31. พระธาตุวัดช้างค้ำ (วัดกานโถม) บ้านเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี
  32. วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี (พระเกศาธาตุในพระเศียรพระนอน)
  33. พระธาตุวัดพันหลัง ตำบลตำบลสำราญราษฎร์ อำเภอดอยสะเก็ด
  34. พระธาตุวัดดอยปล่อยนก บ้านห้วยอ่าง ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด
  35. วัดพระธาตุดอยกู่ (ศรีวิชัย) ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด
  36. วัดพระธาตุดอยสะเก็ต ตำบลดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด (พระเกศาธาตุ)
  37. พระธาตุป่าสักงาม อำเภอดอยสะเก็ด
  38. วัดพระธาตุม่อนเปี้ย (พระเกศาธาตุ) บ้านหาดส้มป่อย ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง
  39. พระธาตุใจ๋ดีน้อย ตำบลฮอด อำเภอฮอด
  40. พระธาตุวัดหลวงฮอด บ้านหลวงฮอด ม.๒ ตำบลฮอด อำเภอฮอด
  41. พระธาตุดอยเหลี้ยม ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด
  42. วัดพระธาตุกองลอย ตำบลห่อสลี อำเภอฮอด
  43. พระธาตุม่อนจอมธรรม บ้านสันป่าดำ ตำบลดอยเต่า อำเภอดอยเต่า
  44. วัดมหาธาตุเจ้าดอยเกิ้ง ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วนหน้าผากเบื้องซ้าย)
  45. วัดพระนอนขอนม่วง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม (พระเกศาธาตุในองค์พระนอน)
  46. พระธาตุจอมแตง ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม
  47. พระธาตุวัดพระธาตุจอมธรรม (วัดตีนธาตุ) บ้านตีนธาตุ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง
  48. วัดพระธาตุศรีวิชัย บ้านหัวป่าห้า ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง
  49. พระธาตุดอยจอมแจ้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง (พระรากขวัญเบื้องขวา, พระบรมธาตุส่วนอก, พระบรมธาตุน้ำล้างพระพักตร์)
  50. วัดพระธาตุสุนันทา (ดอยแม่หม้าย) ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง
  51. วัดพระธาตุช่อแลพระงาม ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง (พระบรมธาตุน้ำสระเกศ, น้ำสรงพระพุทธบาท)
  52. พระธาตุวัดสันป่าสัก ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง
  53. พระธาตุวัดโพธาราม (ป่าจี้) ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง
  54. พระธาตุจอมสวรรค์ ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง
  55. พระธาตุนาปง ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง
  56. พระธาตุวัดดอนเจียง ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง
  57. พระธาตุวัดสบเปิง บ้านสบเปิง ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง
  58. พระธาตุดอยกาหลง บ้านสบปั๋ง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว
  59. พระธาตุจอมหิน (พระเกศาธาตุ) บ้านทุ่งห้า ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว
  60. พระธาตุจอมหด (ม่อนหินไหล) (พระเกศาธาตุ) อำเภอพร้าว
  61. พระธาตุดอยนะโม (น้ำมัว) บ้านโหล่งขอด ตำบลสบปั๋ง อำเภอพร้าว
  62. วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง บ้านป่าห้า ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว
  63. พระธาตุวัดพระเจ้าล้านทอง (พระเจ้าหลวง) ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว
  64. พระธาตุยองผา (ผายอง) สำนักสงฆ์เจดีย์แม่เบิ้ย บ้านป่าฮิน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว
  65. พระธาตุขุนโก๋น บ้านตีนธาตุ ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว
  66. พระธาตุทะบุญทา (ธาตุหิน) อ่างเก็บน้ำแม่โก๋น ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว
  67. พระธาตุดอยนางแล (พระธาตุดอยกิ่วแล, พระธาตุดอยนกแล) ศูนย์ปฏิบัติธรรมนางแล ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว
  68. พระธาตุสบแวน บ้านสบแวน ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว
  69. วัดพระธาตุใจกลางเมือง (พระธาตุสะดือเมือง) ตำบลเวียง อำเภอพร้าว
  70. วัดพระธาตุศรีจอมทอง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง (พระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวา)
  71. วัดดอยโมคคัลลาน์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง
  72. พระธาตุดอยน้อย ตำบลดอยหล่อ อำเภอจอมทอง (พระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องซ้าย)
  73. พระธาตุวัดดอยสะเกิ๊ด ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง
  74. วัดพระธาตุดอยพระเจ้า (ดอยกะโหลก) ม.๑๑ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง
  75. พระธาตุวัดปัญญาวุธาราม (สันกู่) ตำบลหางดง อำเภอจอมทอง
  76. พระมหาธาตุนภเมทนีดล อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง
  77. พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง
  78. พระธาตุวัดท่าตอน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย
  79. วัดพระธาตุสบฝาง ตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย
  80. วัดพระธาตุดอยน้ำค้าง ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย
  81. วัดพระธาตุปูแช่ ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย
  82. วัดพระธาตุแสนไห (พระบรมธาตุส่วนพระทนต์ *ฟัน) บ้านมหาธาตุ ตำบลแสนไห อำเภอเวียงแหง
  83. วัดพระธาตุศรีพุทธิวงศ์ (ดอยธาตุ) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง (พระธาตุองค์สุดท้ายที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างไว้ก่อนมรณภาพ)
  84. วัดพระธาตุจอมคีรี ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ
  85. พระธาตุในถ้ำตับเต่า (พระเกศาธาตุ) อำเภอฝาง
  86. วัดพระธาตุม่อนปิ่น ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง
  87. พระธาตุเจดีย์งาม ตำบลเวียง อำเภอฝาง
  88. พระธาตุเวียงค้อ (วัดคลองศิลา) ตำบลเวียง อำเภอฝาง
  89. วัดพระธาตุดอยแก้ว บ้านห้วยลึก ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง
  90. วัดพระธาตุดอยกิจจิ บ้านพระธาตุ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย
  91. พระธาตุวัดข้าวแท่นน้อย บ้านหัวฝาย ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย
  92. พระธาตุข้าวแท่นหลวง .หัวฝาย ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย
  93. พระธาตุวัดอรัญจอมเมฆ (ปางมะโค) บ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว
  94. พระธาตุวัดดอนศรีสะอาด บ้านดอนมูล ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว
  95. พระธาตุปูก่ำ ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว

[แก้] น่าน

  1. วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลฝายแก้ว อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุข้อมือเบื้องซ้าย)
  2. วัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ)
  3. พระธาตุวัดพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง
  4. พระธาตุวัดกู่คำ (พระเกศาธาตุ) ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
  5. พระธาตุวัดไผ่เหลือง (พระเกศาธาตุ) ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
  6. วัดพระธาตุช้างค้ำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
  7. วัดพระธาตุสวนตาล (พระเกศาธาตุ) ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
  8. พระธาตุวัดดอนแก้ว ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
  9. พระธาตุวัดพญาภู ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
  10. พระธาตุวัดบุปผาราม ตำบลในเวียง อำเภอเมือง
  11. พระธาตุวัดท่าล้อ ตำบลฝายแก้ว อำเภอเมือง
  12. พระธาตุยอยหงส์ บ้านพรหม ตำบลพรหม อำเภอแม่จริม
  13. พระธาตุวัดน้ำพาง (พระธาตุคำปลิว) ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม
  14. พระธาตุจอมแจ้ง ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา
  15. วัดพระธาตุจอมทอง (ยองตอง) (พระเกศาธาตุ) ตำบลสถาน อำเภอปัว
  16. วัดพระธาตุจอมแจ้ง (จอมแบ่ง) บ้านดอนแก้ว ตำบลวรนคร อำเภอปัว
  17. วัดพระธาตุเป็งสกัด ตำบลวรนคร อำเภอปัว
  18. วัดพระธาตุจอมพริก บ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา
  19. วัดพระธาตุจอมนาง บ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา
  20. วัดพระธาตุพลูแช่ ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย
  21. พระธาตุจอมกิตติ บ้านป่าเลา ตำบลพระพุทธบาท อำเภอเชียงกลาง
  22. พระธาตุวัดดอนแก้ว บ้านดอนแก้ว ตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง
  23. พระธาตุศรีบัวแปงเทพมงคล (วัดเจดีย์) ตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง

[แก้] พะเยา

  1. วัดพระธาตุจอมทอง ถ.จอมทอง อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุแขนเบื้องซ้าย)
  2. พระธาตุวัดป่าแดงบุญนาค บ้านป่าแดง ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุกกหูเบื้องซ้าย - ขวา)
  3. วัดพระธาตุดอยน้อย (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุนิ้วก้อย) บ้านจำป่าหวาย ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง
  4. วัดพระธาตุภูขวาง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุข้อมือขวา) บ้านพระธาตุภูขวาง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอเมือง
  5. พระธาตุภูขวาง บ้านสันป่าสัก ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง
  6. พระธาตุวัดลี (พระเกศาธาตุ) ชุมชนบ้านลี ตำบลเวียง อำเภอเมือง
  7. วัดพระธาตุโป่งขาม บ้านโป่งขาม ตำบลท่าวังคำ อำเภอเมือง
  8. พระธาตุวัดเจดีย์งาม บ้านเจดีย์งาม ตำบลท่าวังคำ อำเภอเมือง
  9. พระธาตุบ้านแสงธรรมชาติ ตำบลแม่ต๋อมใน อำเภอเมือง
  10. วัดพระธาตุขิงแกง บ้านธาตุขิงแกง ตำบลจุน อำเภอจุน (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุพระบาทขวา, แขนเบื้องซ้าย)
  11. วัดพระธาตุเมืองลอ (พระเกศธาตุ ๒ เส้น) บ้านลอ ตำบลจุน อำเภอจุน
  12. พระธาตุศรีปิงเมือง (วัดบ้านลอ) ตำบลบ้านลอ อำเภอจุน
  13. วัดพระธาตุห้าดวง ตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน
  14. วัดพระธาตุสามดวง บ้านดงเคียน ตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน
  15. พระธาตุห้วยไคร้ บ้านห้วยไคร้ ตำบลลอ อำเภอจุน
  16. พระธาตุศรีปิงเมือง ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน
  17. พระธาตุบุญนาค ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน
  18. พระธาตุหงส์หิน บ้านสักพัฒนา ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน
  19. วัดพระธาตุจอมไก่ (พระธาตุน้อยจำไก่) (พระเกศาธาตุ) บ้านใหม่พัฒนา ตำบลสันโค้ง อำเภอดอกคำใต้
  20. สำนักสงฆ์พระธาตุจอมแจ้ง ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้
  21. วัดพระธาตุจอมไคร้ (พระเกศาธาตุ) ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้
  22. วัดพระธาตุจอมศีล (พระเกศาธาตุ) ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้
  23. พระธาตุจอมสิ้น อำเภอดอกคำใต้
  24. วัดพระธาตุแจโว บ้านปาง ตำบลคือเวียง อำเภอดอกคำใต้ (พระเกศาธาตุ ๒ เส้น, พระบรมธาตุปลายจมูก)
  25. พระธาตุวัดจำปาหลวง ตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกคำใต้
  26. วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล อำเภอดอกคำใต้
  27. วัดพระธาตุจำม่วง (พระเกศาธาตุ) บ้านสัน ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ
  28. วัดพระธาตุมุงเมือง (พระธาตุดวงดี) บ้านสันต้นม่วง ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ
  29. พระธาตุวัดเหล่าธาตุ บ้านเหล่าธาตุ ตำบลเหล่าธาตุ อำเภอแม่ใจ
  30. พระธาตุสันกู่ บ้านอ้อย ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ
  31. พระธาตุวัดเชียงบาน ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ
  32. วัดพระธาตุดอยคำ (พระเกศาธาตุ) บ้านสบสา ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ
  33. วัดพระธาตุสบแวน ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุริมฝีปากล่าง)
  34. วัดพระธาตุภูซาง (พระเกศาธาตุ) ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ
  35. วัดพระธาตุดอยหยวก บ้านหนุน ตำบลปง อำเภอปง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุขอบตาเบื้องขวา)
  36. พระธาตุเจดีย์สันติสุข บ้านภูลังกา ม.๑ ตำบลยอด อำเภอปง
  37. พระธาตุปูปอ (พระเกศาธาตุ) ตำบลคงเจน กิ่ง อำเภอภูกามยาว
  38. วัดพระธาตุดอยจุก (หยุด) ตำบลคงเจน กิ่ง อำเภอภูกามยาว
  39. พระธาตุโปร่งเกลือ ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน
  40. พระธาตุภูปอ บ้านหนองกลาง ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน

[แก้] แพร่

  1. วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง
  2. วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง
  3. วัดพระธาตุดอยเล็ง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง
  4. วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย
  5. วัดพระธาตุพระลอ ตำบลบ้านกลาง อำเภอลอง
  6. วัดพระธาตุปูแจ ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง
  7. วัดพระธาตุหนองจัน ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง

[แก้] แม่ฮ่องสอน

  1. วัดพระธาตุจอมทอง อำเภอ แม่สะเรียง (๑ - ๔ จอม)
  2. วัดพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอ แม่สะเรียง
  3. วัดพระธาตุจอมมอญ ตำบล บ้านกาศ อำเภอ แม่สะเรียง
  4. วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบล บ้านน้ำดิบ อำเภอ แม่สะเรียง
  5. วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง) อำเภอ แม่สะเรียง
  6. วัดม่วยต่อ อำเภอ ขุนยวม (ม่วยต่อ แปลว่าพระธาตุ)
  7. วัดต่อแพ บ้าน ต่อแพ อำเภอขุนยวม
  8. พระธาตุดอยกองมู วัดพระธาตุดอยกองมู ตำบลจองคำ อำเภอเมือง (บรรจุพระธาตุพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร)
  9. วัดจองกลาง-จองคำ อำเภอเมือง
  10. พระธาตุศรีสบเงา บ้านแม่งาว ตำบลแม่สอด อำเภอสบเมย
  11. พระธาตุดอยกู่ (ดอยนางภีก) บ้านแม่มูด อำเภอสบเมย
  12. วัดหลวง ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย
  13. วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย
  14. วัดเมืองแปง ตำบลเมืองแปง อำเภอปาย
  15. พระธาตุแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ อำเภอ ปาย

[แก้] ลำปาง

  1. พระบรมธาตุดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์, พระบรมธาตุหัวใจ)
  2. พระธาตุม่อนธาตุ วัดม่อนธาตุ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง
  3. วัดพระธาตุม่วงคำ ตำบลพระบาท อำเภอเมือง
  4. พระธาตุม่อนจำศีล วัดม่อนจำศีล (พระเกศาธาตุ) ตำบลพระบาท อำเภอเมือง
  5. พระธาตุม่อนพญาแช่ วัดม่อนพญาแช่ ตำบลพิชัย อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ ๘ เส้น, พระบรมธาตุเล็บ, พระบรมธาตุน้ำบ้วนพระโอษฐ์)
  6. พระธาตุม่อนคีรีชัย วัดม่อนคีรีชัย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง
  7. พระธาตุวัดพระเจ้าทันใจ (พระเกศาธาตุ) ตำบลสันต้นธง อำเภอเมือง
  8. พระธาตุวัดกู่คำ ตำบลสันต้นธง อำเภอเมือง
  9. วัดพระธาตุหมื่นครื้น ตำบลสันต้นธง อำเภอเมือง
  10. วัดพระธาตุเสด็จ บ้านเสด็จ ตำบลเสด็จ อำเภอเมือง
  11. วัดพระธาตุคว่ำหม้อ ม.๗ ตำบลเสด็จ อำเภอเมือง
  12. วัดม่อนเขาแก้ว ตำบลเสด็จ อำเภอเมือง
  13. พระเจดีย์ซาวหลัง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง
  14. พระธาตุวัดดอนป่าตาล (พระเกศาธาตุ) (ดอยม่อนวัวนอน) ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน
  15. พระธาตุวัดเวียง ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน (พระเกศาธาตุ)
  16. พระธาตุวัดดอยอุ้มลอง (พระเกศาธาตุ) ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน
  17. วัดพระธาตุดอยแดง บ้านเหล่า ม.๕ ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน
  18. พระธาตุสบเติน บ้านทุ่งเจริญ ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน
  19. วัดพระธาตุปางม่วง (พระเกศาธาตุ) บ้านปางม่วง ม.๙ ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร
  20. พระธาตุดอยกู่ (ดอยคู่) (พระเกศาธาตุ ๒ เส้น) ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร
  21. พระธาตุม่อนไก่แจ้ (พระเกศาธาตุ) ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร
  22. พระธาตุม่อนไก่เขี่ย (พระเกศาธาตุ) บ้านป่าเหียง ตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร
  23. พระธาตุดอยแก้ว (พระเกศาธาตุ) บ้านหนอง ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ
  24. พระธาตุดอยผาปูน (พระเกศาธาตุ) บ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ
  25. วัดพระธาตุสันดอน บ้านนาดู่ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ (พระบรมธาตุส่วนตับ)
  26. วัดพระธาตุทันใจ ตำบลคอนไฟ อำเภอแม่ทะ
  27. พระธาตุดอยไก่แก้ว ตำบลคอนไฟ อำเภอแม่ทะ
  28. พระธาตุม่อนทรายเหงา (พระเกศาธาตุ) ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว
  29. วัดพระธาตุม่อนทรายนอน อำเภองาว (พระเกศาธาตุ)
  30. พระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วลำคอและหลัง)
  31. พระธาตุจอมปิง วัดพระธาตุจอมปิง (พระบรมธาตุซี่โครงเบื้องซ้าย) บ้านจอมปิง ตำบลนกแก้ว อำเภอเกาะคา
  32. พระธาตุดอยนางแตน (วัดดอยน้อย) บ้านนางแตน ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา
  33. พระธาตุดอยฮาง บ้านทุ่งขาม ตำบลใหม่พัฒนา อำเภอเกาะคา
  34. พระธาตุไหล่หินหลวง วัดเสลารัตนปัพพตาราม บ้านไหล่หิน อำเภอเกาะคา
  35. วัดพระธาตุดอยเต่าคำ (พระบรมธาตุแขนเบื้องซ้าย) บ้านสบดี ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน
  36. วัดพระธาตุดอยซาง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน
  37. พระธาตุวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน
  38. พระธาตุวัดอักโขชัยคิรี ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม
  39. พระธาตุวัดดงนั่ง ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม
  40. พระธาตุวัดกู่เต้าวนาราม ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม
  41. พระธาตุผาแดงหลวง ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม
  42. วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ
  43. พระธาตุวัดพระเกิด ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ
  44. พระธาตุดอยกู่ (พระธาตุแม่กี๊ด) บ้านแม่ต๋ำใต้ ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม
  45. พระธาตุวัดครกขวาง (พระธาตุครกขวาง) บ้านแม่ต๋ำใต้ ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม
  46. พระธาตุวัดนาเอี้ยง บ้านนาเอี้ยง ตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม
  47. พระธาตุวัดศรีลังกา บ้านฮองฮี ตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม

[แก้] ลำพูน

  1. วัดพระธาตุหริภุญชัย อำเภอเมือง (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วนกระหม่อม)
  2. วัดพระธาตุดอยแต ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง
  3. พระธาตุวัดมณียาราม (กู่ละมัก) บ้านศรีย้อย ตำบลต้นธง อำเภอเมือง
  4. วัดพระธาตุดอยน้อย บ้านทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง
  5. พระธาตุดอยติ ถ.พหลโยธิน ลำปาง - ลำพูน อำเภอเมือง
  6. พระธาตุวัดพระนอนม่อนช้าง อำเภอป่าซาง (พระเกศาธาตุ)
  7. วัดพระธาตุจอมสวรรค์ ตำบลดงดำ อำเภอลี้
  8. วัดพระธาตุกลางเวียง ตำบลลี้ อำเภอลี้
  9. วัดพระธาตุห้าดวง บ้านสันดอนเวียง ตำบลลี้ อำเภอลี้ (พระธาตุจากน้ำล้างมือซึ่งไหลผ่านทั้งห้านิ้ว)
  10. วัดพระธาตุแท่นคำ ตำบลลี้ อำเภอลี้
  11. พระธาตุวัดบ้านปาง ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้
  12. พระธาตุดอยกวางคำ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง
  13. พระธาตุวัดทาดอยแช่ บ้านดอยแช่ ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา
  14. พระธาตุวัดดอยคำ ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา
  15. พระธาตุวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง
  16. พระธาตุดอยก้อม อำเภอบ้านโฮ่ง
  17. พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย ตำบลนาทราย อำเภอลี้

[แก้] อุตรดิตถ์

  1. พระธาตุ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตำบลผาจุก อำเภอเมือง (พระทันตธาตุ,พระรากขวัญ)
  2. พระธาตุ วัดม่อนผาจุก ตำบลผาจุก อำเภอเมือง
  3. วัดศรีธาราม ตำบล งิ้วงาม อำเภอเมือง
  4. พระธาตุ วัดช่องลม ตำบลหาดงิ้ว อำเภอเมือง
  5. พระธาตุ สำนักสงฆ์นาตารอด ตำบลหาดงิ้ว อำเภอเมือง
  6. พระธาตุ วัดทับใหม่ ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง
  7. พระธาตุเจดีย์ศรีสองเมือง ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง
  8. พระธรรมเจดีย์ วัดคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง
  9. พระบรมธาตุสุวรรณเจดีย์ 5 องค์ วัดป่าสักเรไร ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง
  10. วัดวังหมู ตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง
  11. พระธาตุม่อนแก้ว วัดพุทธวิโมกข์ ตำบลขุนฝาง อำเภอเมือง
  12. พระธาตุ วัดเหล่าป่าสา ตำบลขุนฝาง อำเภอเมือง
  13. วัดผักราก (พระธาตุ) ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล
  14. วัดหัวดงสุวรรณเจดีย์ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล
  15. วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล (พระเกศาธาตุ)
  16. วัดพระยืนพระพุทธบาทยุคล ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล
  17. วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล
  18. วัดทองเหลือ (บรมธาตุ) ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล
  19. วัดกุฏิพระฤๅษีทรงธรรม ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล
  20. วัดท้องลับแล ตำบล ฝายหลวง อำเภอลับแล
  21. วัดม่อนปรางค์ ตำบล ฝายหลวง อำเภอลับแล
  22. วัดโพธิ์ทอง ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล
  23. วัดเจดีย์คีรีวิหาร ตำบลศรีพนมาศ อำเภอลับแล (พระรากขวัญเบื้องซ้าย)
  24. วัดเสาหิน ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล
  25. พระธาตุวัดม่อนธาตุ ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล
  26. พระธาตุกลางน้ำ บ้านท่าปลาเก่า ตำบลจริม อำเภอท่าปลา
  27. พระธาตุพระเจติยะคีรีนาราม ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา
  28. พระธาตุประทานพร วัดตีนดอย ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา
  29. วัดนาโห้ง ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา
  30. วัดหาดล้าเหนือ ตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา
  31. วัดหน้าพระธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย
  32. พระธาตุวัดมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย
  33. พระธาตุวัดโพธาราม ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย
  34. พระมหาธาตุเจดีย์พุทธบารมี (วัดขวางชัยภูมิ) ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย
  35. วัดเขาบันไดม้า ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย
  36. พระธาตุเจดีย์พุทธเกษตรเขาโคม ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน
  37. พระธาตุ วัดหลวงป่ายาง ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน
  38. วัดบ้านแก่งใต้ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน
  39. พระธาตุบ้านใหม่พัฒนา ตำบลวังแดง อำเภอตรอน
  40. วัดมหาธาตุ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอฟากท่า
  41. มหารัตนสุวรรณเจดีย์ สำนักปฏิบัติธรรม สหบุญญาราม ตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน
  42. พระธาตุพุทธานุภาพ สำนักวิปัสสนาป่าภูเมี่ยง ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด

 



  1. ฐานเขียง ฐานชั้นล่างสุด ยกพื้นเจดีย์ให้สูงกว่าพื้นดิน
  2. ฐานปัทม์ หรือฐานบัว (ปทุม) แสดงถึงดอกบัวที่รองรับพระพุทธเจ้าในทุกอิริยาบทของพระพุทธองค์
  3. บัวถลา เป็นลักษณะที่รับมาจากลังกาแต่เอาชั้นบัวหงายออก
  4. บัวปากระฆัง เป็นฐานบัวชั้นบน
  5. องค์ระฆัง หรือ เรือนธาตุ บรรจุพระพุทธรูป หรือพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ
  6. บัลลังก์ คงความหมายเดิม
  7. ก้านฉัตร เป็นก้านของฉัตร (ตามความหมายเดิม)
  8. บัวฝาละมี บัวคว่ำด้านบน กางกั้นฉัตรให้เรือนธาตุ
  9. ปล้องไฉน เปรียบเสมือนตัวฉัตร (ตามความหมายเดิม)
  10. ปลียอด ชี้ขึ้นฟ้า เส้นทางสู่พระนิพพาน
  11. หยาดน้ำค้าง หมายถึงรัตนะ